วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยี CPU

Introduction
          ก่อนที่จะเข้าเรื่องกันผมขอเท้าความกันก่อนครับ หลังจากปลายปี 2008 อินเทลได้ปล่อยซีพียูที่เรียกได้ว่าเป็นซีพียูที่แรงในโลกหรือ Core i7 Extreme Edition 965 มาให้สัมผัสถึงความแรงกันแล้วนั้น ก็ต้องยอมรับว่าของเค้าแรงจริงเพราะ Core i7 นั้นได้ปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมใหม่ที่ชื่อโค้ดเนม (Code name) ว่า Nehalem โดยการเปลี่ยนแปลงหลักที่ทำให้มีความแรงมากนั้นขึ้นก็คือ การนำเอาส่วนแมมโมรี่คอนโทลเลอร์จากเดิมที่เคยอยู่บนชิพเซ็ตนำมาใส่ไว้ในตัวของซีพียูเลย ทำให้ลดปัญหาคอขวดของการรับส่งข้อมูลระหว่างชิพเซ็ตและซีพียูลงได้อย่างมาก Core i7 นั้นยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิดที่ 45 นาโนเมตรอยู่ครับ
          และเมื่อเร็วๆ นี้อินเทลได้ออกข่าวมาว่าปลายปี 2009 นี้ จะมีซีพียู 32 นาโนเมตรออกมาได้สัมผัสกัน ซึ่งในวันนี้ i3 มีข้อมูลร้อนๆ ของซีพียูตัวใหม่ตัวนี้มีให้ได้ลิ้มรสกันก่อนที่ตัวจริงจะออกมาครับ



อินเทล 32 นาโนเมตร “Westmere”


         แผนพัฒนาสถาปัตยกรรมซีพียูของทางอินเทล เรียกว่า Tick – Tock ครับ (เสียงของนาฬิกา) ชื่อนี้อินเทลเป็นคนตั้งขึ้นมาเอง ซึ่งทุกๆ Tock จะเป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมใหม่ ส่วนทุกๆ Tick จะเป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตให้เล็กลงครับ โดยในปัจจุบันเราอยู่ที่ Tock ของสถาปัตยกรรม Nehalem 45 นาโนเมตร (Core i7) และตอนนี้อินเทลกำลังล้ำหน้าไปอีกขั้นด้วยการก้าวสู่ช่วง Tick ที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กเพียง 32 นาโนเมตร!! ซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่นี้จะมีชื่อโค้ดเนมว่า Westmere ครับ


อินเทล Core i7 สถาปัตยกรรม Nehalem 45 นาโนเมตร กำลังจะถูกแทนที่ด้วยซีพียูตัวใหม่ 32 นาโนเมตร
                          ถ้าจะให้เข้าใจได้ง่ายๆ Westmere ก็คือสถาปัตยกรรม Nehalem ที่มีลดขนาดเล็กลง และเพิ่มชุดค่ำสั่งใหม่เข้ามาคือ AES โดยชุดคำสั่งนี้จะทำให้ซีพียู 32 นาโนเมตรรุ่นใหม่นี้สามารถเข้ารหัสข้อมูลรักษาความปลอดภัย (encryption) ฮาร์ดดิสก์ได้ทั้งลูก และด้วยการเข้ารหัสด้วย AES ในระดับของฮาร์ดแวร์จะทำให้การเข้ารหัสได้รวดเร็วมาก เร็วกว่า Nehalem ประมาณถึง 3 เท่า ซึ่งทางอินเทลได้กล่าวว่าผู้งานจะไม่มีความรู้สึกเลยว่าข้อมูลฮาร์ดดิสก์ถูกเข้ารหัสเลย ชุดคำสั่งใหม่ AES นี้จะมีประโยชน์มากกับผู้ที่ต้องการความปลอดภัยในด้านข้อมูลสูงสุดเพราะข้อมูลฮาร์ดดิสก์ทั้งลูกจะถูกเข้ารหัสไว้ด้วย AES ซึ่งฮาร์ดดิสก์ลูกนี้ถ้าหากถูกขโมยไปจะไม่มีทางดูข้อมูลได้เลยทั้งลูก ซึ่งต่างจาก Nehalem ที่ยังต้องใช้การเข้ารหัสข้อมูลผ่านซอฟแวร์ซึ่งช้ากว่ามาก


[เทคโนโลยี] เรื่องของ CPU - Intel Pentium 4        ขอย้อนมาพูดเรื่องชิพกราฟิกในซีพียูอีกทีครับ ถ้าใครยังจำIntel Larabee โปรเจ็คกราฟิกระดับ Hi Endสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะจากอินเทลได้คงมีคำถามเช่นเดียวกับผมว่าชิพกราฟิกที่อยู่ Clarkdale ใช้ Larabee หรือไม่? คำตอบจากทางอินเทลคือยังไม่ใช่ครับ(สำหรับคนที่ยังไม่มีข้อมูลเรื่อง Intel Larabeeอ่านได้จากบทความของเราเลยได้ที่นี้เลยครับ Intel’s Larrabee GPU - เมื่ออินเทลผู้ผลิตชิพ CPU ยักษ์ใหญ่ของโลกหันมาลุยตลาดกราฟิก)ซึ่งแผนที่จะนำเอา Larabee มาใส่ไว้ในซีพียูนั้นมีแน่นอนครับแต่กว่าจะเป็นจริงคงต้องรอถึงซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรมการผลิต 22 นาโนเมตรประมาณปี 2011 โน้นแหละครับ
ต้องเปลี่ยนชิพเซ็ตเพื่อรองซีพียู 32 นาโนเมตรหรือเปล่า?
         บ่อยครั้งที่เมื่อออกซีพียูรุ่นใหม่มักต้องมีชิพเซ็ตรุ่นใหม่ออกมาเพื่อรองรับการร่วมกันเสมอซึ่งหมายความว่าเราต้องจ่ายเงินถึง 2 ต่อ เพื่ออัพเกรดซีพียูรุ่นใหม่แต่สำหรับซีพียู 32 นาโนเมตร Westmere นี้ ชิพเซ็ตเดิมอย่างซีรีย์ 5 เช่นX58 ยังคงรองรับอยู่ ซึ่งก็รวมถึงเรื่อง Socket ที่ยังคงเป็น LGA 1366อยู่เช่นเดิมครับ


สรุป
         และนี้ก็เป็นข้อมูลทั้งหมดของซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดจากอินเทลที่จะออกมาในกลางปี 2009 นี้ สำหรับชื่ออย่างเป็นทางการของซีพียู Gulftown ที่มี 6Core นั้นอินเทลยังไม่มีข้อมูลครับ ผมเดาเล่นๆ ว่าอาจเป็น Core Iอะไรซักอย่าง อาจจะเป็น Core i8 ก็ได้ 555+ ส่วนตัว Clarkdale ที่มี 2Core พร้อมชิพกราฟิกภายในนั้น มีข่าวมาว่าชื่อ Core i5 ครับ
          ต้องขอบอกว่าอินเทลช่วงนี้เป็นขาขึ้นของเค้าจริงๆพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านซีพียูเร็วแบบก้าวกระโดดมากๆเร่งแซงคู่แข่งไปหลายช่วงตัวเลยทีเดียวยิ่งดูแผนพัฒนาสถาปัตยกรรมซีพียูของทางอินเทล เรียกว่า Tick – Tockด้วยแล้วนั้นต้องบอกว่าตั้งแต่หลังอินเทลได้ผลิตซีพียู Core 2 Duo ออกมาก็ได้ออกซีพียูรุ่นใหม่ๆ ออกมาแบบปีต่อปีซึ่งข้อดีตรงนี้ก็จะตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างเราๆ เนี่ยแหละเพราะราคาของซีพียูจะลงอย่างรวดเร็ว เราก็ได้ซีพียูแรงๆไปใช้แบบสบายกระเป๋ากันครับ และสุดท้ายนี้ถ้าเราได้ตัวเป็นๆ ของซีพียู 32นาโนเมตร มาเราจะนำมาทดสอบประสิทธิภาพให้ชมกันแน่นอนครับ



เรื่องของ CPU - Intel Pentium 4

Intel Pentium 4 (Code Name:- Willamette)
วันที่ 20 พฤศจิกายน ปี 2000 ก็ได้เกิดศักราชใหม่ของวงการซีพียูก็คือการเปิดตัวของ Intel Pentium 4 ครั้งแรก การมาของ Intel Pentium 4 ได้พลิกประวัติศาสตร์ซีพียูหลากหลายประการ เริ่มจากการเพิ่มเทคโนโลยี Hyper Pipelined Technology, Rapid Execution Engine และเพิ่มชุดคำสั่ง SSE2 เข้าไป ซึ่งซีพียู Intel Pentium 4 ตัวแรกๆ นั้น คิดว่าหลายคนยังจำได้อยู่ ก็คือเป็นซีพียู Socket 423 (มี 423 ขา) ตัวใหญ่ๆ ประมาณ Pentium III และก็เรื่องมากสุดๆ คือคนที่จะใช้ Pentium4 ต้องอัพเกรดเครื่องใหม่ทั้งหมด รวมไปถึง Power Supply ด้วย และยังใช้ได้เฉพาะ RDRAM เท่านั้น ซึ่งแรกๆ ก็มี RDRAM แถมมาในกล่องซีพียูเลย ตอนนั้นทางอินเทลก็โดนด่าไปไม่น้อย มาพูดถึง Pentium 4 รหัส Willamette กันก่อน เป็นซีพียูที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ใช้ระบบบัสแบบ Quad-Pumped Bus 400 MHz มีแคชระดับสองในตัวขนาด 256-KB ใช้ไฟ VCORE ที่ 1.700-1.750 V ซึ่งหลังจากที่ Pentium 4 รหัส Willamette Socket 423 ออกมาไม่นาน ทางอินเทลก็ได้ปล่อย Pentium 4 ในแพ็คเกจ Socket 478 ออกมา ซึ่งก็ยังคงเป็นรหัสพัฒนา Willamette เหมือนเดิม แต่มีความเร็วสูงขึ้น โดยรวมแล้ว Pentium 4 Willamette มีความเร็วตั้งแต่ 1.30 GHz - 2.00 GHz สังเกตว่ายังคงไม่มีรหัสใดๆ ต่อท้ายความเร็วสำหรับ P4 Willamette นี้

เทคโนโลยี Hyper Pipelined Technology

อินเทลได้แบ่งไปป์ไลน์ในซีพียู Pentium รุ่นแรกไว้ 5 ส่วน และเพิ่มเป็น 10 ส่วนใน Pentium PRO เมื่อพัฒนามาถึง Pentium 4 ทางอินเทลก็ได้เพิ่มไปป์ไลน์ขึ้นเป็น 20 ส่วน หรือ 20-stage พร้อมเรียกใหม่ว่าเป็น Hyper Pipelined Technology ซึ่งขออธิบายง่ายๆ ว่า การที่ความยาวของไปป์ไลน์เพิ่มมากขึ้น หากซีพียูทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งบ่อยๆ เครื่องก็จะสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น แต่โดยปกติแล้วซีพียูจะทำงานไม่ต่อเนื่องแบบคำสั่งต่อคำสั่งเสมอไป พอมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งก็จะมีการข้ามไปทำชุดคำสั่งอื่นๆ แตกต่างกัน ก่อให้เกิดการกลับไปเริ่มต้นไปป์ไลน์ใหม่อยู่ตลอดเวลา มาถึงตอนนี้หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า อย่างงี้ Pentium4 ที่มีจำนวนไปป์ไลน์มากกว่า ก็ต้องทำงานช้ากว่าน่ะสิ.. ซึ่งก็ถูกต้อง แต่ว่า Pentium4 อาศัยความที่มีความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงมาทดแทน แต่ว่าก็มีสถาปัตยกรรม NetBurst มาช่วยจัดการในเรื่องของไปป์ไลน์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น กัน

Intel Pentium 4 (Code Name:- Northwood A)

และหลังจากที่อินเทลประสบความสำเร็จกับเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.13 ไมครอน ก็ได้จัดแจงปล่อยซีพียู Pentium 4 ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 0.13 ไมครอนมาทันที โดยใช้โค้ดเนมว่า Northwood ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนอกจากที่จะปรับมาเป็น 0.13 ไมครอนแล้ว เจ้า Pentium4 Northwood ยังมีแคชระดับสองสูงถึง 512-KB ด้วย และก็ยังกินไฟน้อยลงเหลือเพียง 1.500-1.525 V แรกเริ่มเดิมที อินเทลได้ปล่อยออกมา 3 ความเร็วด้วยกัน คือ 1.60 GHz, 1.80 GHz และ 2.00 GHz โดยได้ใช้รหัส A ต่อท้ายความเร็ว เพื่อป้องกันการสับสนกับ P4 Willamette เราจึงเห็นซีพียู Intel Pentium4 1.60A, 1.80A และ 2A ในท้องตลาด ภายหลังได้มีการปล่อย Northwood A ออกมาเพิ่มเติมที่ความเร็ว 2.20 GHz, 2.40 GHz และ 2.60 GHz ซึ่ง 3 ความเร็วครั้งหลังนี้ ไม่มีรหัสใดๆ ต่อท้ายนะครับ ย้ำว่า ไม่มีรหัสใดๆ ต่อท้ายเลย สำหรับ Northwood A หรือ Northwood ชุดแรกที่ออกมานี้ ยังคงใช้ระบบับส QPB (Quad-Pumped Bus) 400 MHz อยู่เหมือนเดิม

Intel Pentium 4 (Code Name:- Northwood)

ในปีเดียวกันนั้นเอง (2002) อินเทลก็พัฒนา Pentium 4 ไปอีกขั้น โดยขยับจากระบบบัส QPB 400 MHz มาเป็น QPB 533 MHz เป็นจุดกำเนิดของ Northwood B ซึ่งก็เหมือนกับ Northwood A แทบทุกประการ ต่างกันที่ระบบบัสที่เร็วขึ้นเท่านั้น มีความเร็วที่วางขายดังนี้ 2.26 GHz, 2.40B, 2.53 GHz, 2.66 GHz และ 2.80 GHz สังเกตว่าที่ความเร็ว 2.40B นั้นจะมีรหัส B ต่อท้าย นั่นหมายความว่าเป็นตัวที่ใช้ QPB 533 MHz นั่นเอง ป้องกันไม่ให้ไปสับสนกับ 2.40 GHz ซึ่งเป็นของ Northwood A ที่ใช้ QPB 400 MHz ครับ อย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าเป็น Northwood ก็ต้องมีแคชระดับสองที่ 512-KB และผลิตด้วยเทคโนโลยี 0.13 ไมครอนแน่นอน

Intel Pentium 4 HT (Code Name:- Northwood)


ในปีเดียวกันอีก ปลายๆ ปี วันที่ 14 พฤศจิกายน 2002 อินเทลประกาศเปิดตัวเทคโนโลยี Hyper-Threading เป็นครั้งแรก กับซีพียูรุ่นใหม่ ซึ่งใช้รหัสพัฒนาเดียวกับ Northwood B แต่มีความเร็วสูงถึง 3.06 GHz ออกมาเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นซีพียู Pentium4 3.06 GHz จึงใช้ระบบบัส QPB 533 MHz แต่พ่วงเอา Hyper-Threading Technology เข้าไปด้วยนั่นเอง และนี่ก็เป็นครั้งแรกที่ซีพียูแตะหลัก 3GHz อีกด้วย

Hyper-Threading Technology

ไฮเปอร์-เธรดดิง เทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่ทางอินเทลปล่อยออกมาครั้งแรกกับตลาด desktop ที่ Pentium 4 3.06 GHz ความจริงแล้ว Hyper-Threading technology หรือ HT นี้ได้ถูกนำมาใช้นานแล้วกับซีพียูในตลาดกลุ่ม Server/Workstation อย่าง intel Xeon processor โดย HT จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ซอฟต์แวร์มองเห็นซีพียูในลักษณะของ multi-thread นั่นก็คือซอฟต์แวร์ที่รองรับจะมองเห็นซีพียูเป็น 2 ตัว และทำงานกันอย่างขนานหรือ parallel ให้ผลลัพธ์ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นหากซอฟต์แวร์รองรับ หรือจะมีประโยชน์มากหากทำงานหลายๆ application ในเวลาเดียวกัน เช่นทำการ render ภาพ 3 มิติ ไปพร้อมๆ กับการ rip ไฟล์ DVD หรือทำการ presentation ไปด้วย แต่ถ้าหากนำมาใช้ในการรัน application เดี่ยวๆ โดดๆ อย่างเช่น เล่นเกมส์ ก็อาจไม่เห็นถึงความเร็วที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

Intel Pentium 4 HT (Code Name:- Northwood C)

ยังไม่จุใจกับ Pentium 4 Northwood ทางอินเทลยังคงปล่อยซีพียู Northwood มาอีกหนึ่งเจเนอเรชัน มาในโค้ดเนม Northwood C ซึ่งมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก นั่นคือขยับขึ้นมาใช้ระบบบัสแบบ QPB 800 MHz และซีพียู Pentium 4 ในรหัส Northwood C ทุกตัวจะมี Hyper-Threading technology ติดตัวมาด้วย ... แหงล่ะครับ ของเขาพัฒนามาแล้ว ก็ต้องนำมาขายเป็นธรรมดา สำหรับ Northwood C นี้มีจำหน่ายกันที่ความเร็ว 2.40C, 2.60C, 2.80C, 3C และ 3.2C ซึ่งทุกตัวจะมีรหัส C ต่อท้าย และที่กล่องซีพียูก็จะมีระบุว่ารองรับ Hyper-threading Technology ด้วย รุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมากเห็นจะเป็น 2.40C เนื่องจากทำการโอเวอร์คล๊อกไปได้มาก และมีราคาไม่แพงนัก ล่าสุดเห็นว่ากำลังจะปล่อย Northwood C ที่ความเร็ว 3.40C มาด้วย ต้องติดตามชมกันต่อไป

Intel Pentium 4 Extreme Edition (Code Name:- Prestonia)

เมื่อไม่นานมานี้ ทางอินเทลได้คั่นรายการโดยการปล่อยซีพียู Pentium4 รุ่นพิเศษ เอาใจกลุ่มลูกค้า super hi-end มาในชื่อของ Pentium 4 Extreme Edition หรือย่อว่า Pentium4 EE หรือบางคนอาจเรียกว่า Pentium4 XE ซึ่งซีพียู Pentium4 EE นี้เป็นซีพียู Pentium4 Socket 478 เหมือนกับตัวอื่นๆ มีพื้นฐานมาจากซีพียูคอร์ Northwood ใช้ระบบบัส QPB 800 MHz มาพร้อมกับ Hyper-Threading Technology ที่สำคัญที่สุดก็คือในส่วนของแคช ที่แม้ว่าจะพ่วงแคชระดับสองมา 512-KB เท่ากัน แต่ใน Pentium 4 EE จะมีแคชระดับสาม หรือ L3 Cache ติดมาอีกเต็มๆ 2-MB ด้วยกัน ใช้รหัสพัฒนา Prestonia ราคาแพงหูฉีก กระเป๋าฉีก ปัจจุบันออกมา 2 ความเร็วคือ 3.20 GHz และ 3.40 GHz สามารถนำมาใช้กับเมนบอร์ด Pentium 4 ทั่วไปได้เลย ในสองความเร็วนี้ไม่มีรหัสต่อท้าย แต่ก็เป็นที่รู้กัน เพราะว่าต้องระบุกันแน่นอนอยู่แล้วว่าเป็น Extreme Edition และราคาก็ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องสับสนกับรุ่นทั่วๆ ไปครับ

Intel Pentium 4 HT (Code Name:- Prescott)

และล่าสุด... อินเทล เพนเทียม 4 ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.09 ไมครอน หรือ 90 นาโนเมตร เป็นครั้งแรกที่ก้าวมาถึงในขั้นที่เรียกว่าเป็น นาโนเทคโนโลยี (0.09 um = 90 nm) โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ Pentium 4 โค้ดเนม Prescott นี้ ก็จะเป็นในส่วนขนาดของเทคโนโลยีการผลิต, การเพิ่มขนาดแคช, เพิ่มชุดคำสั่ง SSE3 และจำนวน stage ของไปป์ไลน์มากขึ้น แต่ยังคงใช้แพ็คเกจแบบ Socket 478 เช่นเดิม กินไฟน้อยลงเหลือเพียง 1.250 - 1.400 V เท่านั้น เมนบอร์ด Socket 478 ที่จะนำมาใส่ต้องรองรับ Prescott ซึ่งสังเกตได้ว่าโลโก้ Prescott Rrady หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดก็ได้ ไม่ว่ากัน ส่วนสำคัญสุดๆ ที่มากับ Prescott ก็คือในส่วนของแคชที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ทั้งระดับหนึ่งและระดับสอง (ไม่มีระดับสามนะจ๊ะ..) นั่นคือ Prescott จะมีแคช L1/L2 อยู่ที่ 16-KB/1024-KB หรือว่ามีแคชระดับสองสูงถึง 1-MB เลยทีเดียว ตอนนี้ก็ออกมายั่วยวนกวนเงินในกระเป๋าตามท้องตลาดแล้ว มีความเร็วที่จะวางขายทั้งหมดที่ 2.80E, 3E, 3.20E และ 3.40E ก็เห็นชัดเจนครับ ว่าใน Prescott นี้จะใช้รหัส E ต่อท้ายความเร็วเพื่อบ่งบอกถึงความเป็น Prescott ตอนซื้อก็อย่าสับสนก็แล้วกัน เพราะราคาใกล้เคียงกันมาก

Intel Pentium 4 no-HT (Code Name:- Prescott)

ตัวสุดท้ายที่เอามาให้ดูกันวันนี้ เป็นตัวที่สร้างความสับสนมากพอควร นั่นก็คือ Intel Pentium 4 รหัส Prescott อีกหนึ่งตัว ที่ดันไม่มี Hyper-Threading technology และใช้ระบบบัส QPB 533 MHz เท่านั้น แต่กลับมีแคชระดับสองเป็น 1 MB เทียบเท่า Intel Prescott ตัวอื่นๆ ปัจจุบันเห็นออกจำหน่ายเพียงความเร็วเดียวคือ 2.40A ... นั่นไงล่ะ ทำไมกลับมาใช้รหัส A ก็ไม่รู้ แต่ว่าอย่าสับสนก็แล้วกันครับ 2.40A นี้เป็น Prescott QPB 533 MHz และไม่มี HT ซะด้วย

Intel เปิดตัว CPU ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 45 NM
Intel ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวกระบวนการผลิตใหม่ล่าสุดของตนเอง บนกระบวนการผลิตในขนาด 45nm โดยเจ้าซีพียุในขนาดกระบวนการผลิตในขนาด 45nm นี้ทางอินเทลได้มีแผนที่จะเริ่มปล่อยออกมาให้ได้เห็นกันในช่วงกลางปี 2007 นี้

ในงานนี้ทางอินเทลก็ได้มีการแสดงประสิทธิภาพความสามารถของซีพียุ ในตระกูลต่างๆ ที่จะมาในกระบวนการผลิต 45nm ให้ได้ชมอีกเช่นกัน จะมีซีพียุในตระกูลใดบ้างนั้น เรามาดูกันครับ

45nm dual-core mobile ซีพียุสำหรับคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ที่ได้มีการทดสอบการใช้งานด้วย Microsoft office 2003 บนระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุดกับ Windows Vista แต่ก็ไม่ได้แจ้งมาด้วยว่าซีพียุในตระกูลโมบาย 45nm นี้จะทำงานด้วยความเร็วเพียงใด

45nm dual-core desktop ซีพียูสำหรับคอมพิวเตอร์ desktop ซึ่งจะทำงานด้วยความเร็ว 2.13GHz ได้มีการนำเสนอความสามารถด้วยการ เปิด video ความละเอียดสูง ในระดับความละเอียดบน 1080 จุด ด้วยระบบปฎิบัติการ Windows Vista เช่นเดียวกัน

45nm quad-core desktop มีควาเร็วในการประมวลผลที่ 1.86GHz ซึ่งก็แสดงความสามารถด้วยการเปิดเล่นเกม Rainbow six - Vegus บน Windows Vista อีกเช่นกัน

2x 45nm dual-core ทำงานด้วยความเร็ว 2.13GHz ซึ่งก็ออกแบบมาเพื่อการใช้งานในแบบ Workstation และได้มีการรัน Glaza Workstation บน Windows 2000 Advance Server

2x 45nm quad-core ทำงานด้วยความเร็ว 2.13GHz และได้มีการแสดงความสามารถด้วยการถอดรหัสวิดีโอหรือการ Encoding ด้วย Adobe Premiere บน Windows Vista




สำหรับซีพียุบนกระบวนการผลิตที่ 45nm จากอินเทลจะมาใน code name ว่า Penryn ซึ่งจะมีจำนวน transistors 410 ล้านตัว ในซีพียุแบบ Dual-core และ 820 ล้านตัวบน Quad-core และนอกจากนี้ก็จะได้มีการเพิ่มคำสั่ง sse4 เข้ามาอีกเช่นกัน บวกกับขนาดของ L2 cache 8MB ต่อคอร์ ซึ่งน่าจะเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับในอนาคต


ทั้งนี้ทางอินเทลเองก็ได้มีการขยายโรงงานผลิต Fab อีก 3 โรงงาน ซึ่งจะอยู่ในอเมริการจำนวน 2 โรงงาน และคาดว่าน่าจะสร้างเสร็จในสิ้นปีนี้ ส่วนอีกหนึ่งแห่งจะอยู่ในอิสราเอล และคาดว่าน่าจะสร้างเสร็จในปี 2008
 

เทคโนโลยี 64 บิท VS 32 บิท

สวัสดีครับ.. บทความคราวนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ สิ่งที่ผู้ใช้หลายๆคน กังขาอยู่เลยนะครับว่า CPU
หรือเรียกภาษาไทยกันคุ้นๆ ว่าโปรเซสเซอร์ ที่มีเทคโนโลยี 2 เทคโนโลยีในปัจจุบันคือ 64bit และ
32bit นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วเราควรจะใช้งานตัวไหนดี
 


ก่อนอื่น ผมก็ต้องขออธิบายก่อนนะครับ เทคโนโลยี 64bit นี้นั้นมีมานานแล้ว ในคอมพิวเตอร์ระดับสูง
พวกที่ใช้งาน Databaseที่ทำงานกับข้อมูลจำนวนมาก หรืองานการคำนวนทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน
จนกระทั้ง AMD ได้นำเทคโนโลยีนี้ลงมาใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
ถือเป็นการเริ่มต้น เทคโนโลยี 64bit สำหรับผู้ใช้ทั่วไป และทาง Intel ก็ได้ตามมาทีหลัง
และเทคโนโลยีนี้ก็อยู่บน เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลากว่า 1 ปีจนในที่สุดก็มาลงในโนตบุค
ซึ่งก็คือ AMD อีกเช่นกันที่เป็นคนเริ่ม ในชื่อของ AMD turion64 เอาเป็นว่าว่า CPU
ของโนตบุคในตลาดปัจจุบันนั้น มีตัวไหนบ้างที่ เป็น 64bit และตัวไหนบ้างที่เป็น 32bit ดังนี้

32 bit

Intel Celeron M
Intel Pentium M
Intel Core Solo
Intel Core Duo
AMD Mobile sempron


64 bit

Intel Core 2 Duo
AMD Turion64
AMD Turion64x2
AMD Mobile Athlon 64


โดย CPU ของทั้ง 2 ค่ายที่เป็น 64bit นี้ AMD จะใช้ชื่อเทคโนโลยีนี้ว่า x86-64
ส่วน Intel จะใช้ชื่อเทคโนโลยีนี้ว่า EM64T โดยชื่อเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้ผ่าน
โปรแกรม cpu-z ในหัวข้อ CPU ตรงช่อง instruction ครับ ซึ่งเทคโนโลยี 2 ตัวนี้
จะแตกต่างกันภายในเล็กน้อยแต่ว่า โดยตัวคอนเซปแล้วจะเหมือนกันนะครับ

แล้วอะไรคือ 64bit? -- คำตอบอันนี้จะเป็นในส่วนของทางด้านเทคนิคนิดนะครับ คือ CPU ปกติ
จะมีความจำของตนเองไว้ใช้งานภายในขนาดหนึ่ง ซึ่งหน้าที่ของความจำนี้ก็คืออ้างอิงถึงคำสั่งที่จะใช้งาน
และอ้างอิงถึงข้อมูลที่จะมาใช้คำสั่งนั้น

โดยถ้าเป็น 32bit นั้นการอ้างถึงความจำแต่ละครั้งนั้น จะได้ข้อมูล
กลับมา 32bit (1 bit มีค่าได้ 2 รูปแบบคือ 1 ,0 เท่านั้น) แต่ถ้าเป็น 64bit
ก็จะได้ข้อมูลกลับมา 64bit ถ้าเรามาคำนวนดูว่า 64bit นั้นมีค่ามากกว่า 32bit ขนาดไหนก็คือ

32bit มีค่าประมาณ 4,000,000,000.-
64bit มีค่าประมาณ 18,000,000,000,000,000,000.-

จะเห็นว่า 64bit นั้นน้อยกว่า 32bit แบบเทียบกันไม่ได้ซึ่งด้วยเหตุนี้นี่เองทำให้ CPU ประเภท 64bit นั้น
จะมีความสามารถสูงกว่า CPU 32bit เป็นอย่างมาก(โดยความสามารถนี้ไม่ได้แสดงออกมา
ทางด้านความเร็วอย่างเดียว แต่ว่าออกมาทางด้านปริมาณหน่วยความจำ
ความง่ายในการเขียนโปรแกรม และCPU สามารถทำสิ่งต่างๆได้มากขึ้นด้วย) แต่ทำไมเราถึงไม่เห็นความแตกต่างอันนี้
ในปัจจุบันนั้นก็เพราะว่า CPU ที่เป็น 64 บิตนั้นจะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพที่มีอยู่ก็ต่อเมื่อ

1-ระบบปฏิบัติการรองรับเต็มที่
2-โปรแกรมที่เราจะใช้งานรองรับ
3-driver ของอุปกรณ์ต่างๆ รองรับ


ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้ล้วนแล้วแต่ยังมีปัญหาในการรองรับในปัจจุบัน เราจึงยังไม่จะยังไม่เห็นความแตกต่าง
ของโปรแกรมประเภท 32bit และ 64bit นักแต่ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
นับตั้งแต่ Window XP ได้ออก 64bit version สำหรับ CPU 64bit ออกมา,
Window Vista ที่ออกมาทั้งแบบ 32bit และ 64bit ,และโปรแกรมต่างๆที่เริ่มทยอยออก
เวอร์ชั่น 64bit กันออกมาแล้ว สิ่งเหล่านี้นับเป็นสัญญาณที่ทำให้แน่ใจได้ว่า ในอนาคต
การใช้งานประเภท 64bit คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมได้แน่นอน

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง 64bit และ 32bit คือ

สามารถใช้แรมเพิ่มจาก เดิม 4GB เป็น 128GB (จริงๆแล้วซัพพอร์ตได้มากกว่านี้แต่ว่าถูกจำกัดไว้โดย Window)
โปรแกรมประเภท 64bit จะทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมตัวเดียวกันประเภท 32bit
(เงื่อนไข : โปรแกรม 64bit ทำงานบนระบบปฏิบัติการ 64bit และ โปรแกรม 32bit
ทำงานบนระบบปฏิบัติการ 32bit) แต่ไม่เห็นผลต่างนี้ในเกมปัจจุบัน
โปรแกรม 32 บิตสามารถรันบน CPU64bit ได้แต่ว่า โปรแกรม 64bit ไม่สามารถรันบน CPU32bit ได้
ต่อมาก็เป็นคำถามยอดฮิตสำหรับผู้ที่จะซื้อโนตบุคนะครับ คือ เราสมควรจะซื้อ CPU ประเภทไหนกันแน่

ระหว่าง 32bit หรือ 64bit
คำตอบของคำถามนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ด้วยนะครับ ที่จะช่วยเลือกว่าเราจะซื้อ CPU ประเภทไหนดี

จุดแรกคือ CPU ประเภท 64bit ในปัจจุบันนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่า ตัวที่เป็น 32bit ทุกตัว

แต่ว่าเรื่องการประหยัดพลังงานนั้น ถึงแม้ว่า CPU ประเภท 64bit จะมีเทคโนโลยีในการประหยัดพลังงานใหม่ๆ
เพิ่มขึ้นมาจากรุ่นเก่าก็ตามแต่ว่าเนื่องจาก CPU เหล่านี้เป็นแบบ Dual-core จึงเป็นที่แน่นอนว่า
ย่อมกินไฟมากกว่า CPU ประเภท single-core แน่นอน
และอีกจุดนึงก็คือ CPU 64bit เหล่านี้มีราคาที่แพงกว่า CPU ประเภท 32bit

พอสมควรจึงเป็นตัวเลือกให้ตัดสินใจสำหรับผู้ใช้ได้
-->> ต่อไปเป็นการเลือก CPU จากการใช้งานนะครับ
สำหรับผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ หลักๆแล้วเป็นการใช้งานที่เบาๆ ไม่มีอะไรมาก เช่น ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ

ทำงานเอกสาร office ง่าย มีไว้เพื่อโอนไฟล์เพลงลง MP3 player หรือ
งบประมาณจำกัด(ต่ำกว่า 25,000 บาท) ก็ควรเลือกเครื่องที่ราคาถูก และแค่ใช้งานของเราได้ก็พอ
ผมแนะนำให้ใช้เป็น Celeron M นะครับเพราะว่าเพียงแค่นี้ก็สามารถรองรับการใช้งานได้สบายๆ แล้ว
สำหรับผู้ที่ใช้งาน นอกบ้าน และใช้โนตบุคเพื่อการพรีเซนสินค้า ฉายสไลด์ นำไปโชว์ผลงาน หรือพูดอีกอย่างก็คือใ

ช้โนตบุคเป็นเครื่องสำรองสำหรับการพกพาไปใช้แสดงผลงาน โดยที่ตนเองใช้งาน PC เป็นหลักอยู่แล้วก็ควรใช้งานโนตบุค
ที่ ไม่ต้องมีประสิทธิภาพสูงนัก เพราะว่าเป็นแค่การใช้งานชั่วครั้งชั่วคราว และเน้นทางด้านการประหยัดพลังงานซะมากกว่า
ผมแนะนำให้ใช้เป็น Celeron M ,Core Solo นะครับเพราะว่า CPU รุ่นนี้สามารถประหยัดพลังงาน
ได้มาก ใช้งานนอกสถานที่ได้เป็นเวลานาน
ต่อมาสำหรับผู้ใช้ที่ ใช้งานโปรแกรมเฉพาะทางครับพวก วิศวกรรม ,ไฟฟ้า ,ตัดต่อวีดีโอ ฯลฯ นั้น

ผมแนะนำให้เลือก CPU ที่รองรับอนาคตเพราะว่าโปรแกรมเฉพาะทางเหล่านี้มีโอกาสที่เวอร์ชั่นต่อไป
ที่จะออกมาเป็น แบบ 64bit นั้นค่อนข้างสูงเพราะว่าโปรแกรมเหล่านี้ถ้าใช้งานในระบบ 64bit
จะทำงานได้รวดเร็วขึ้นมาก โดย CPU ที่แนะนำคือ Turion64 ,Turion64x2 ,Core2Duo
(ได้ทั้ง 2 รุ่นคือ t5xxx และ t7xxx)
สำหรับผู้ใช้งาน ระดับทั่วๆไป ที่มีงบประมาณกลางๆ ระดับ <45,000>

ที่จะให้โนตบุคนั้นใช้งานได้ไปอีกนาน และใช้โปรแกรมเล่นไปเรื่อย แบบว่าใช้งานกว้างๆ
นั้นผมก็ขอแนะนำเป็น CPU Turion64x2 และ Core2Duo ตระกูล t5xxx ครับ เ
พราะว่าประสิทธิภาพของ 2 ตัวนี้นั้นสามารถรองรับการใช้งานของโปรแกรมใหม่ๆ ไปได้อีกนาน
และด้วยตัวของมันเองที่รองรับการใช้งาน 64bit ทำให้สามารถรองรับโปรแกรมในอนาคตได้
สุดท้ายนะครับสำหรับผู้ใช้งานที่มีงบประมาณสูง (ระดับ >70,000 ขึ้นไป) ผมก็แนะนำให้เลือกใช้
CPU Core 2 Duo ตระกูล t7xxx นะครับเพราะว่า CPU ตระกูลนี้ได้รับการยอมรับเลยว่าเร็วที่สุด
ในปัจจุบันแล้ว และเราก็มีเงินเหลือเฟือที่จะเลือกใช้โนตบุครุ่นที่เราอยากได้ ถ้าไงแล้วก็เลือกรุ่นที่เร็วที่สุด
ไปเลยดีกว่า ครับคือการเลือกในข้อนี้นั้น ไม่ต้องพิจารณาอะไรมากครับ เพราะด้วยจำนวนเงินที่สูงมาก
ทำให้เราสามารถเลือกเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดที่เราต้องการได้อยู่แล้ว ครับไม่คำนึงถึงการใช้งาน
เพราะว่าแน่นอนว่าความสามารถระดับนี้ย่อมทำได้ทุกอย่างอยู่แล้ว
ครับสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยี CPU ใหม่ที่เรียกว่า 64bit นี้จะทำให้ผู้ที่สงสัย นั้น

ได้หายข้องใจกันลงได้นะครับ หรือผู้ที่กำลังลังเลใจในการเลือกซื้อจะได้ สามารถเลือกซื้อได้อย่างสบายใจ
ไม่ต้องเก็บมานั่งคิดให้เครียดกันอีกต่อไป
High K Generation 2



  ในสมัยที่อินเทลปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก 65 นาโนเมตร มาสู่45 นาโนเมตร อินเทลได้ใช้วัสดุ High Kเพื่อทำให้ชิพสามารถลดขนาดเล็กลงและลดการสูญเสียพลังงานลงได้อย่างมากและมาถึงยุค 32 นาโนเมตรก็เช่นกัน แต่อินเทลได้พัฒนาวัสดุ High Kขึ้นอีกขั้นเป็น High K เวอร์ชั่น 2ซึ่งสามารถลดขนาดของชิพให้เล็กลงได้อีกเหลือเพียง 32 นาโนเมตรและในอนาคตอินเทลได้เผยข้อมูลออกมาว่าเทคโนโลยี 22 นาโนเมตรซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการทดลองแล้วด้วย O_o ซึ่งชื่อของสถาปัตยกรรม 22นาโนเมตร จะใช้ชื่อโค้ดเนมของชิพว่SanBridge
ในที่สุด CPU และ GPU ก็รวมร่างเป็นหนึ่งเดียว

เทคโนโลยี 32 นาโนเมตร ทำให้มีเนื้อบนซีพียูเหลือพอสำหรับนำชิพกราฟิกใส่ลงไปด้วย          Roadmap ของอินเทลจะทำการเปิดตัวซีพียู 32นาโนเมตรในตลาดระดับกลาง (Mainstream) ในปลายปี 2009 ก่อนแล้วตามด้วยซีพียุระดับสุดยอด (High-End) ในต้นปี 2010 ครับซีพียูในตลาดระดับกลางจะใช้ชื่อโค้ดเน้มว่า Clarkdale โดยจะมีซีพียู 2Core และใส่เทคโนโลยี Hyper Threading (HT) ลงไปด้วยทำให้เสมือนมี 4 Coreโดยความพิเศษของมันคือจะมีชิพกราฟิกฝั่งอยู่ในตัวซีพียูเลยซึ่งความเล็กของเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรเนี่ยแหละเป็นผลให้พื้นที่ของ Coreซีพียูเล็กลงมากพอที่จะมีพื้นที่เหลือสำหรับยัดชิพกราฟิกลงไปด้วยนั้นเองหลายๆ คนคงสงสัยว่าถึงเรื่องประสิทธิภาพของกราฟฟิกว่ามากน้อยขนาดไหนซึ่งทีมงาน i3 ก็ได้สอบถามถึงเรื่องนี้ด้วยซึ่งทางอินเทลให้คำตอบว่าด้านประสิทธิภาพนั้นยังไม่มีข้อมูลมากนักแต่เท่าที่ทางอินเทลประเทศไทยได้ข้อมูลมาคือประสิทธิภาพจะเทียบเท่าประมาณการ์ดฟิกการ์ดระดับกลาง – ล่างครับซึ่งชื่อเรียกของซีพียูรุ่นนี้อาจจะเป็น Intel Core i5
          ส่วนซีพียู 32 นาโนเมตรระดับบนจะชื่อโค้ดเน้มว่า Gulftownนั้นจะมีจำนวนแกนประมวลผลถึง 6 Core ซึ่งเมื่อรวมกับเทคโนโลยี HTจะเสมือนมีถึง 12 Core เลยทีเดียวซึ่งด้านประสิทธิภาพทางอินเทลได้เคลมไว้ว่ามีความเร็วมากกว่า Core i7Extreme Edition 965 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น