วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การปรับแต่งรูป Blogger

การปรับแต่งใส่รูปภาพบนHeade ของบล็อก ที่เราสร้างเอง

สวัสดีค่ะ MeOmee มาแว้ว หลังจากได้ห่างหายไปนานมาก เพราะไฟหมด (ไฟมันจะมีมาเป็นช่วง ๆ ค่ะ) วันนี้มีไฟอีกรอบ พอดีก็มีคำถามจากเพื่อนมือใหม่ที่กำลังทำบล็อก MeOmee ก็เลยรีบตอบทันที สำหรับคนที่เคยถามคำถามเข้ามา แล้ว MeOmee ยังไม่ได้ตอบก็ขอโทษจริง ๆ นะคะ ก็จะพยายามไล่ตอบให้หมด ซึ่งบางคำถามผู้ถามอาจจะไม่ต้องการคำตอบแล้ว เอาเป็นว่า ก็เอาไว้เป็นกรณีศึกษาสำหรับเพื่อน ๆ ที่มือใหม่กว่าละกันนะคะ แหะ แหะ

ซึ่งก็มีคำถามจากคุณ bodin yungyang ว่า

“ในบล๊อค siamblogspot.blogspot. อ่ะครับ ตรงส่วนหัวอ่ะครับทำไงอ่ะตรงป้าย SiamBlogspot ตัวใหญ่ๆอ่ะครับทำไงอ่ะครับ เห็นมานมีลิ้งค็ด้วยอ่า รบกวนส่งมาทางเมลนี้นะครับ”

MeOmee ตอบ
MeOmee ก็ได้ลองเข้าไปดูที่บล็อก ก็เห็นว่ามันเป็นรูปแบบนี้ค่ะ


สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ค่ะ


1. ทำการ Log In เข้าไปที Account บล็อกของเรา
2. เข้าไปที่ Lay Out แท็ป Page Elements
3. ให้สังเกตที่ Header คลิกที่ Edit จะมีช่องให้เรากรอก



4. ให้เลือกรูปที่จะใส่จาก “From the Web” ซึ่งหมายความว่ารูปที่ MeoMee ใช้นั้นจะมาจาก รูปภาพที่ได้โหลดขึ้นบล็อกแล้ว และเอาลิงก์ที่อยู่ URL มาใส่ ซึ่งรูปภาพก็ไม่ไปฝากที่ไหนไกล ก็ทำการอัพโหลดกับบทความของ Blogger.com นี่หล่ะค่ะ
5. จากนั้นคลิกเลือกใช้ Instead of title and description คือ ให้ใช้ภาพแทน ชื่อบล็อกและ รายละเอียดของบล็อก
6. รอรูปภาพให้ดาวน์โหลด จนเสร็จ จะขึ้นรูปภาพแบบนี้ค่ะ





7. จากนั้นให้คลิกที่ SAVE

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การสร้งบทความ Blogger

 
ส่วนของการสร้างบทความให้เข้าไปที่ "การส่งบทความ" หัวข้อ "สร้าง" ให้เพื่อนๆทำความเข้าใจเมนูและเครื่องมือต่างๆ ของการสร้างบทความใน Blogger เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน


ความเข้าใจเบื้องต้นในการสร้างบทความ

การสร้างบทความใช้พื้นฐาน Microsoft word คือเขียนอย่างไรก็จะออกมาอย่างนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
  1. ส่วนของ "เขียน"
    ในส่วนนี้จะเหมือน Microsoft Word เกือบทุกๆอย่าง อยากเขียนอะไร อยากใช้ตัวหนา ตัวเอียง การใส่ Link เพียงแค่คลิ๊กเมนูการใช้งานด้านบน มีข้อเสียคือ เวลา Copy อะไรก็ตามแล้วนำมา Paste ลงในนี้ ลักษณะของของตัวอักษรจะเหมือนกับต้นแบบที่ Copy มาทุกอย่างครับ
  2. ส่วนของ "HTML"
  3. ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร แต่ไม่ได้ยากเท่าไรครับ ข้อดีคือ สามารถปรับตามความต้องการของเราได้ทุกอย่าง เมื่อ Copy อะไรมาวาง ลักษณะตัวอักษรจะถูกปรับเป็นตัวอักษรปกติของบล๊อกเราครับ
ข้อสังเกตุ:
การ Copy อะไรมาวางถ้าไม่อยากให้ลักษณะผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามรูปแบบที่สวยงาม ให้้ Copy แล้วทำมา Paste ในส่วนของ HTML ครับ ข้อความทั้งหมด จะถูกปรับให้การแสดงผลเป็นค่าปกติของบล๊อกเรา ไม่ใช่ตามลักษณะต้นแบบที่เรา Copy มาครับ

เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างบทความ

Blogger มีเครื่องมือต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเขียบบทความได้ตามรูปแบบที่ตั้งใจ ดูตามดังรูปเลยครับ

  1. แบบอักษร สามารถเลือกตัวอักษรได้ตามต้องการ
  2. ปรับขนาดตัวอักษร ปรับขนาดความใหญ่หรือเล็กลง
  3. ตัวหนา
  4. ตัวเอียง
  5. สีของตัวอักษร
  6. ทำ Link ให้ข้อความ เราสามารถสร้าง Link ให้ข้อความได้โดยการ คลิ๊กคลอบข้อความที่เราต้องการแล้วกดที่เมนูนี้ ระบบจะให้ทำการใส่ URL (ที่อยู่ของ Link เช่น www.snook.com) เมื่อคลิ๊กที่ข้อความจะถูกส่งไปยังหน้าเว็บที่เราใส่ Link เข้าไป
  7. ทำบทความให้ชิดซ้าย
  8. ทำบทความให้อยู่กึ่งกลาง
  9. ทำบทความให้ชิดขวา
  10. ทำบทความให้ชิดทั้งขอบซ้ายและขวา
  11. ทำรายการเรียงลำดับเป็นตตัวเลข
  12. ทำรายการเรีนงลำดับเป็นจุด
  13. ใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
  14. เพิ่มรูปภาพลงในบทความของเรา ระบบจะให้เราอัพโหลดไฟล์รูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา สามารถปรับขนาดและจัดรูปแบบให้อยู่ ซ้าย,กลาง,ขวา ได้
  15. เพิ่ม Video เข้าไปในบทความของเราเช่นเดียวกับรูปภาพครับ
  16. ส่วนนี้เป็นการลบข้อความที่เราเขียนผิดพลาด ในส่วนนี้ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไร หรือไม่ได้ใช้เลยก็ได้
  17. แก้ไข HTML ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร
  18. หน้าที่ใช้เขียนบทความเหมือนการใช้งาน Microsoft Word
  19. แสดงตัวอย่างที่เราเขียนบทความ
  20. การใส่หัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง "การตกแต่งบ้างโดยใช้ต้นไม้ประดับ" หัวข้อก็คือ การตกแต่งบ้าน (บ่งบอกให้รู้ว่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร)
  21. ทำการเผยแพร่บทความทันที บทความจะแสดงหน้าบล๊อกของเราทันที่ที่เราเผยแพร่
  22. บันทึก เป็นการบันทึกบทความไว้ก่อน จะยังไม่แสดงในหน้าบล๊อกของเรา เหมือนการร่างบทความ เราสามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนทีหลังได้ใน "การแก้ไขบทความ

การสร้างเว็บไซต์ ด้วย www.Blogger.com

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.blogger.com แล้วกรอกชื่ออีเมล และรหัสผ่านเดียวกับตอนที่สร้างบัญชีอีเมล ของ Gmail.com จากนั้น คลิก “เข้าสู่ระบบ”

2. พิมพ์ชื่อที่ต้องการแสดงบนหัวเว็บไซต์
3. นำเม้าท์ไป “ติ๊ก” ตรงช่อง ข้าพเจ้ายอมรับข้อตกลงการใช้บริการ แล้วคลิก ปุ่ม “ทำต่อ” ขวามือ
4. ระบบพร้อมที่จะให้ท่านสร้างบล็อกแล้ว

5. กรอกชื่อเว็บบล็อกที่ต้องการ (ควรสื่อถึงความหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด)
6. กรอกที่อยู่ของบล็อก (เป็นโดเมนเสมือน ที่จะมีคำว่า .blogspot.com ต่อท้าย ดังนั้นจึงไม่ควรยาวเกินไป และควรคลิก “ตรวจสอบความพร้อมการใช้งาน” ว่าชื่อโดเมนเนมนั้นมีผู้จดไปหรือยัง) ชื่อเรียกของบล็อกนี้จะเป็นโดเมนเนมในการพิมพ์เพื่อเรียกเว็บไซต์ให้ปรากฏ ดังนั้นจึงควรเป็นชื่อที่จำง่าย และสะกดผิดยาก เมื่อได้ชื่อที่ต้องการแล้วให้คลิกคำว่า “ทำต่อ”
7. เลือกแม่แบบ (Template) ซึ่งมีรูปแบบให้เลือกมากมาย โดยสามารถเลื่อนสกอร์บาร์ดู
8. เมื่อเลือกได้แบบที่ต้องการ ก็นำเม้าส์ไปติ๊กหน้าวงกลม แล้ว คลิกช่องลูกศร “ทำต่อ” ด้านขวามือล่าง

9. ในขั้นตอนนี้ เว็บของท่านก็จะมี (เวอร์ช่วล) โดเมนเน และรูปแบบ (ดีไซน์) จากแม่แบบที่ท่านเลือกแล้ว ยังคงขาดเพียงแต่ข้อมูลที่ท่านจะให้ปรากฏบนเว็บไซต์ ดังนั้น ให้กดคลิกที่รูปลูกศร “เริ่มต้นการส่งบทความ”

10. จะปรากฏหน้าจอดังรูปข้างต้น ซึ่งหากท่านเคยใช้ โปรแกรม word มาก่อน ก็สามารถนำทักษะนั้นมาเพื่อสร้างข้อมูลต่างๆ ได้ทั้งลูกเล่น, ขนาด, และสีสันของตัวอักษร

11. สำหรับท่านที่ต้องการใส่ภาพประกอบนั้น ให้คลิกที่ปุ่มรูปภาพขนาดเล็ก (ตามศรชี้)
12. จะปรากฏ Pop-up box ขึ้นมา ให้ท่านคลิกที่ Browse เพื่อเรียกไฟล์ภาพที่เก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ต้องการ (ขนาดของภาพไม่ควรใหญ่เกิน 100K ) ท่านสามารถกำหนดตำแหน่งการวางภาพได้ ทั้ง ซ้าย, กึ่งกลาง, ขวา และขนาดรูปภาพที่ต้องการแสดงได้ว่า ต้องการ (ขนาดเล็ก, ปานกลาง หรือใหญ่) โดยใช้เม้าส์คลิกที่หน้าปุ่มที่ต้องการ
13. ภาพที่ต้องการก็จะปรากฏขึ้นมาให้เลือก
14. ในขั้นตอนนี้ให้ท่านจะเห็นชื่อไฟล์ภาพที่ต้องการมาเก็บไว้ใน Browse เรียบร้อยแล้วให้ท่าน ติ๊กที่ กล่องเล็กๆ หน้าข้อความว่า “ข้าพเจ้ายอมรับข้อกำหนดในการให้บริการ” จากนั้น จึงคลิกที่ ปุ่ม อัพโหลดรูปภาพ



15. ระบบจะทำการอัพโหลดรูปภาพ


16. เมื่อเรียบร้อยแล้วให้ท่านคลิกที่ปุ่ม เสร็จเรียบร้อย เป็นอันเสร็จขั้นตอนในการเพิ่มรูปภาพเข้าไปในเว็บไซต์ของท่าน
17. เมื่อตรวจสอบตำแหน่งภาพ และข้อความต่างๆ ถูกต้องแล้ว ให้ท่าน เลือกที่จะ คลิก “เผยแพร่บทความ” จะปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ และคนที่เข้ามาเว็บไซต์ของท่านจะพบเห็นข้อมูลเหล่านี้ หรือเลือกที่จะ “บันทึกทันที” ในความหมายนี้ ข้อมูลทั้งหมดจะยังไม่ปรากฏให้บุคคลภายนอกเห็น จนกว่าท่านจะกลับมาคลิกที่ “เผยแพร่บทความ”



18. เมื่อท่านคลิก “เผยแพร่บทความ” แล้ว ในหน้าเว็บจะปรากฏจอข้างต้น หากท่านต้องการดูบล็อก ให้คลิกตรงคำว่า “ดูบล็อก” แต่หากต้องการแก้ไขข้อมูล ให้เลือกคลิก “แก้ไขบทความ” หรือต้องการจะเพิ่มข้อมูลอื่นในเว็บไซต์ ก็ให้คลิกคำว่า “สร้างบทความใหม่”



19. หน้าเว็บไซต์ที่จัดทำจะปรากฏขึ้น นอกจากนั้น เว็บนี้ยังสามารถปรับแต่งรูปแบบต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม เช่น เพิ่มลิงค์, เพิ่มวิดีโอ หรือสไลด์รูปแบบต่างๆ ได้อย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและลองทดสอบด้วยตนเอง

การใช้งาน Blogger

การใช้งานเวบ Blogger

ใน Stepนี้ เราจะได้ศึกษาถึงวิธีการใช้งานเว็บบล็อกกัน ว่าวิธีการเพิ่มเนื้อหารายละเอียดเขาทำกันอย่างไร?
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการมุ่งหน้าหาเงินออนไลน์ ดังที่กระผมการันตรีว่า ภายใน 9 วันต้องเห็นผลให้ได้
จาก Step ที่แล้วได้สร้างเว็บบล็อกเอาไว้ถึงขึ้นตอน บล็อกของคุณถูกสร้างแล้ว (ด้านล่าง)

จากนั้นให้เราคลิกที่ เริ่มต้นส่งบทความจะปรากฎหน้าต่างด้านล่าง ซึ่งจะให้เราใส่ข้อความ บทความ รูปภาพ ตามความต้องการโดยการคลิกที่ สร้าง
-ชื่อเรื่อง (คือหัวข้อเรื่องที่เราต้องการ)
-และมีพื้นที่สำหรับการใส่ข้อความ, รูปภาพเป็นต้น

วิธีการสมัคร Blogger

 
สิ่งแรกที่ต้องมีในการสมัคร Blogger คือ E-mail ของ Gmail เท่านั้นครับ ซึ่งในส่วนของการสมัคร E-mail คงจะนำมาสอนเป็นขั้นเป็นตอนเพราะมันง่ายมากครับ


 
1. สามารถเปลี่ยนภาษาทางด้าน ขวาบน ได้หลากภาษาครับ จากนั้นคลิ๊กที่สร้างบล๊อกดังรูปครับ


2. ตั้งชื่อส่วนหัวของบล๊อก ตั้งชื่อบล๊อก จากนั้นก็ คลิ๊กดำเนิกการต่อ
ดังรูป


3. เลือกแม่แบบ หรือ Theme (หน้าตาบล๊อก) จากนั้น คลิ๊ก ดำเนินการต่อ
ดังรูป


4. เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ คลิ๊ก เริ่มต้นการเขียนบล๊อก ได้ทันทีเลย
ดังรูป

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Windows 7 กับระบบเครือข่าย

         แม้ว่า Microsoft จะได้ทำการเชื่อต่อระบบ network ของ widnows 7 ให้มีความง่ายในการติดตั้งแล้วก็ตาม แต่สำหรับบางคนที่ยังไม่เคยสัมผัสก็อาจจะดูว่ามันยาก วันนี้เลยนำวิธีการติดตั้ง home group บน windows 7 แบบง่าย ๆ มาฝากกันครับ
ไมโครซอฟท์พยายามบนวินโดวส์หลายเวอร์ชันมานานมากแล้ว เพื่อที่จะทำให้การตั้งค่าระบบเครือข่ายภายในบ้านนั้นเป็นไปอย่างง่ายดาย เชื่อมต่อได้อัตโนมัติ และก็สามารถแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้สะดวก ในที่สุดก็มาประสบความสำเร็จในวินโดวส์ 7 ด้วยคุณสมบัติที่เรียกว่า “HomeGroup”
networking windows7
เลือกชนิดของระบบเครือข่าย - คุณต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายแบบ Home ถึงจะเข้าใช้โฮมกรุ๊ปได้
โฮมกรุ๊ป (HomeGroup) ช่วยผู้ใช้ในการสร้างระบบเครือข่ายภายในบ้านด้วยฟังก์ชันการเข้าถึงและแชร์ข้อมูลเพียบพร้อมและยืดหยุ่น ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในคุณสมบัติใหม่ที่น่าสนใจมากบนวินโดวส์ 7 และนั่นก็หมายถึงว่า ผู้ใช้วินโดวส์วิสต้า เอ็กซ์พี แมค และลินุกซ์ คงไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับความสะดวกสบายที่ว่า
วินโดวส์ 7 ช่วยเราในการสร้างระบบเครือข่ายได้ 3 รูปแบบ - Home, Work และ Public หรือก็คือเครือข่ายภายในบ้าน ที่ทำงาน และที่สาธารณะ แต่ในการใช้งานโฮมกรุ๊ปนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพีซีบนระบบเครือข่ายทุกเครื่องตั้งค่าการเชื่อมต่อเอาไว้เป็นแบบ Home เท่านั้น ซึ่งในการตั้งค่าที่ว่าบนวินโดวส์ 7 ก็สามารถทำได้โดยไปที่คอนโทรลพาเนล แล้วเลือก Network and Internet จากนั้นก็เลือก Network and Sharing Center (หรือใครอยากจะใช้วิธีลัดด้วยการคลิกขวาที่ไอคอนเน็ตเวิร์กบนซิสเต็มเทรย์มุมล่างขวาของหน้าจอเพื่อเข้าสู่ Network and Sharing Center ก็ได้เช่นกัน) และท้ายสุดก็คือดูให้แน่ใจว่าเราได้เลือกค่าเอาไว้เป็น “Home network” ภายใต้ไอคอนระบบเครือข่าย หากยังไม่ใช่ก็คลิกที่ลิงก์ “Public network” หรือ “Work network” แล้วเปลี่ยนให้เป็น “Home network” แทน
เพียงแค่นี้เราก็สามารถสร้างโฮมกรุ๊ปได้แล้ว ซึ่งที่จริงหลังจากที่เราเปลี่ยนระบบเครือข่ายเป็นแบบภายในบ้านหรือ Home วินโดวส์ 7 ก็จะพาเราไปยังหน้าต่างสำหรับตั้งค่าอย่าง Create a homegroup เพื่อสร้างโฮมกรุ๊ปใหม่ขึ้นมา หรือถ้าได้เลือก Home เอาไว้อยู่แล้ว ก็คลิกที่ลิงก์ Choose homegroup and sharing options แล้วตามด้วย Create ได้เลย
ขั้นตอนต่อไปก็คือ การเลือกชนิดของไฟล์ที่ต้องการแบ่งปันกันกับสมาชิกคนอื่นในโฮมกรุ๊ป ก็มีให้เลือกตั้งแต่รูปภาพ เพลง วิดีโอ ไฟล์เอกสาร หรือแม้แต่การแชร์เครื่องพิมพ์ โดยตัวเลือกเหล่านี้จะสอดคล้องกับไลบรารี (library) ที่วินโดวส์ 7 สร้างขึ้นตามค่าดั้งเดิมตอนติดตั้งระบบปฏิบัติการลงบนคอมพิวเตอร์ และก็รวมไปถึงโฟลเดอร์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้แต่ละคนในยูสเซอร์โพรไฟล์ด้วย
สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้ความจริงแล้วก็คือ การแบ่งปันไฟล์ต่างๆ ที่อยู่บนพีซีของเราให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อยู่บนโฮมกรุ๊ปให้สามารถเข้าถึงได้ ตัวอย่างเช่น โฟลเดอร์ c:UsersxxxxPictures หรือ c:UsersxxxxMusic และก็รวมไปถึงโฟลเดอร์อย่าง c:UsersPublic ด้วย โดยผู้ใช้สามารถเพิ่มโฟลเดอร์ต่างๆ ที่ต้องการแชร์ได้มากตามต้องการ
หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ วินโดวส์ 7 ก็จะเปิดโอกาสให้เราตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับเข้าใช้โฮมกรุ๊ปได้ ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าพีซีเครื่องอื่นๆ ที่ต้องการใช้งานโฮมกรุ๊ปก็จำเป็นต้องทราบรหัสผ่านนี้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นเก็บรักษารหัสผ่านให้ดีๆ (อาจใช้วิธีไฮไลต์เลือกแล้วก็ก๊อบปี้ไปเก็บไว้ในเท็กซ์ไฟล์หรือส่งเป็นอีเมล์ไว้ในอินบ็อกซ์ของเราก็ได้) หรืออาจสั่งพิมพ์ออกมาไว้ซักชุดยามฉุกเฉิน และจะได้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการตั้งค่าให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ บนโฮมกรุ๊ปเดียวกันด้วย
หลังจากเราคลิก Finish เพื่อเสร็จสิ้นการตั้งค่า คำสั่ง Change homegroup settings เป็นส่วนที่เปิดโอกาสให้เราเปลี่ยนรหัสผ่านหากเปลี่ยนใจอยากกำหนดใหม่ รวมไปถึงการเข้าถึงการตั้งค่าชั้นสูงในหน้า Advanced Sharing Settings ด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังทำไม่น้อยอย่างน้อยก็ในตอนนี้ก็คือ การปรับเพิ่มไลบรารี โฟลเดอร์ หรือไฟล์ในโฮมกรุ๊ป ซึ่งก็น่าแปลกใจพอสมควรที่ไมโครซอฟท์มองข้ามตรงนี้ไป ทั้งที่สิ่งต่างๆ บนโฮมกรุ๊ปควรถูกปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นที่สุด
networking windows7
ตัวเลือกบนโฮมกรุ๊ป - ในส่วน Change homegroup settings เราสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านและเรียกใช้การกำหนดค่าชั้นสูงอย่าง Advanced Sharing
แม้จะยังไม่จำเป็นนัก แต่ถึงตรงนี้แล้วก็ลองแวะเข้ามาที่ Advanced Sharing Settings ดูสักนิดด้วยการคลิก Change advanced sharing settings แล้วเลือกลูกศรชี้ลงที่อยู่ข้างๆ Home หรือ Work
ตรงจุดนี้เราจะเห็นตัวเลือกอีก 6 ตัว ที่ระบุถึงรูปแบบการตั้งค่าระบบเครือข่ายภายในบ้านของวินโดวส์ 7 (ที่จริงแล้วระบบเครือข่ายทุกแบบบนวินโดวส์ 7 ก็ใช้การตั้งค่าเบื้องต้นในลักษณะเดียวกันนี้) โดยจุดที่น่าสนใจที่สุดอยู่ในกรอบ Advanced Sharing ก็คือ การกำหนดค่าการค้นหาคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่าย (network discovery - ทำให้พีซีเครื่องอื่นสามารถมองเห็นคอมพิวเตอร์ของคุณได้) การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ และการแชร์สื่อข้อมูลต่างๆ ซึ่งหากไม่ได้เลือกค่าเหล่านี้ไว้ เราก็แทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรจากโฮมกรุ๊ปเลย…เราจะไม่มีโอกาสได้ใช้คุณสมบัติที่ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลบนคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ภายในบ้านเป็นไปอย่างราบรื่นผ่านศูนย์กลางที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหลักหรือบนฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เฉพาะในการเก็บข้อมูลส่วนกลางของสมาชิกในบ้าน
หลังจากที่เราได้สร้างโฮมกรุ๊ปขึ้นมา คอมพิวเตอร์ที่มองเห็นเครือข่ายของเราก็สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโฮมกรุ๊ปได้ โดยผู้ใช้แต่ละเครื่องเพียงแค่ไปเรียก Network and Sharing Center ขึ้นมาจากคอนโทรลพาเนล แล้วคลิกที่ Choose homegroup ซึ่งจะมีคำถามปรากฏขึ้นมาเพื่อยืนยันในการเข้าเป็นสมาชิกโฮมกรุ๊ปว่า “Do you want to join a homegroup?” พร้อมด้วยรายชื่อโฮมกรุ๊ปที่มีอยู่ จากนั้นก็คลิกที่ Join Now เพื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ
หลังจากที่เราเข้าไปสมาชิกในโฮมกรุ๊ปแล้ว จะมีลิงก์ที่เชื่อมไปยังหน้าช่วยเหลือของวินโดวส์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าถึงไฟล์และทรัพยากรต่างๆ บนโฮมกรุ๊ป ซึ่งก็ช่วยเหลือได้อย่างดีสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ค้นเคยกับการแชร์ข้อมูลต่างๆ ลักษณะนี้มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ยังไม่รู้จักวิธีแชร์ไฟล์ของตัวเองให้กับคนอื่นๆ
networking windows7
แบ่งปันไลบรารี - คลิกขวาที่ไลบรารีแล้วเลือก Share With เพื่อกำหนดค่าในการเปลี่ยนรูปแบบการแชร์ไลบรารีให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ
โดยปกติแล้วไลบรารีต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ตอนติดตั้งวินโดวส์ 7 จะถูกแบ่งปันบนโฮมกรุ๊ปโดยทันที แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ไม่เฉพาะไลบรารีเหล่านี้เท่านั้นที่เราแชร์ให้กับคนอื่นๆ ได้ เราสามารถกำหนดการแชร์ทรัพยากรได้ด้วยตัวเอง โดยให้เรียกไลบรารีขึ้นมาจากทาส์กบาร์และเลือกไปยังส่วนที่เราต้องการแบ่งปัน จากนั้นก็คลิกขวาแล้วเลือก Share With | Homegroup ซึ่งจะมีตัวเลือกให้เลือกอีก 2 แบบด้วยกัน คือ อ่านอย่างเดียว และอ่านและเขียนไฟล์ข้อมูลได้ หมายความว่าหากเราไม่อยากให้คนอื่นเข้ามาแก้ไขอะไรในนี้ก็เลือกเป็นอ่านอย่างเดียว แต่ถ้าต้องการให้ไลบรารีที่ว่าเปิดกว้างสำหรับผู้ใช้คนอื่นๆ อย่างเต็มที่ อ่าน/เขียน ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
ความจริงเราสามารถแชร์โฟลเดอร์และไฟล์ไปไว้บนโฮมกรุ๊ปได้ แต่แนวทางที่ดีกว่าก็คือ โยนโฟลเดอร์เหล่านั้นไปไว้บนไลบรารี แล้วใช้วิธีการแชร์ไลบรารีน่าจะเข้าท่ากว่า อย่างน้อยก็สะดวกในการจัดการสิ่งต่างๆ ในภายหลังมากกว่าวิธีอื่นๆ

Windows Media Player 12

Windows Media Player
เริ่มกันที่ Windows Media Player ซึ่งอยู่คู่กับ Windows มาเป็นระยะเวลายาวนาน (ตั้งแต่ Windows รุ่นไหน มีใครจำได้บ้างครับ) ซึ่งใน Windows 7 ตัวโปรแกรม Windows Media Player มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในเวอร์ชันใหม่ได้แก่ การแบ่งโปรแกรมเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เปห็นไลบรารี่สำหรับจัดการไฟล์มีเดียต่างๆ ที่ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกส่วนคือการสลับไปยังโหมด Now Playing ซึ่งมีลักษณะเป็นหน้าต่างเล็กๆ สำหรับเล่นไฟล์วิดีโอ หรือรูปภาพ หรือสไลด์โชว์ รวมถึงฟีเจอร์ที่เคยกล่าวไปแล้วในรีวิวก่อนหน้านี้ นั่นคือ ปุ่มสำหรับคอนโทรลโปรแกรมบนหน้าพรีวิวขนาดเล็ก
01
02 03
ภาพบน : หน้า Library หรือหน้าหลักของ WMP12, ภาพล่าง ซ้าย/ขวา : WMP12 ในโหมด Now Playing
หน้าต่าง Now Playing ถูกปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็นแบบ Miniplayer หรือหน้าต่างขนาดเล็กทำให้ผมนึกถึงโปรแกรมพวก Media Player Classic หรือ VLC Player ครับ มีความเหมือนกันตรงที่ หน้าตาของโปรแกรมมีขนาดเล็ก มีปุ่มสำหรับควบคุมการเล่นไฟล์ที่เพียงพอต่อการเล่นไฟล์หนึ่งไฟล์ได้อย่างสบาย ทำให้หน้าตาของโปรแกรมเหล่านี้ดูไม่เกะกะ และผู้ใช้จะรู้สึกถึงความสะดวกในการใช้งานครับ โหมด Now Playing นี้จะช่วยมาลดจุดด้อยของหน้าต่างหลัก ซึ่งเรียกว่าหน้า Library ครับ เนื่องจากหน้า Library นั้น แค่มองเผินๆ ก็ทำให้รู้สึกแล้วว่าใช้งานยาก และเมนูค่อนข้างสับสนจริงๆ การปรับปรุงหน้าต่าง Now Playing แบบนี้ถือได้ว่าไมโครซอฟท์แก้ปัญหาได้ตรงจุดดีครับ
09
Windows Media Player กับการเล่นไฟล์ HD หรือความละเอียดสูง สามารถเล่นได้อย่างราบรื่นครับ
นอกจากหน้าตาที่ออกแบบมาได้อย่างลงตัวแล้ว สำหรับการใช้งานของ Windows Media Player ตัวใหม่นี้ก็เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาครับ โดยตัว Windows Media Player 12 นี้จะมาพร้อมกับตัวถอดรหัสไฟล์วิดีโอ (หรือ CODECS) ยอดนิยมจำนวนมาก เช่น .avi .mp4 .mkv .ts ฯลฯ เรียกได้ว่าเพียงแค่ติดตั้ง Windows 7 ก็สามารถเปิดไฟล์เหล่านี้ได้โดยไม่ต้องพึ่ง CODECS นอกเลยครับ แต่ถึงจะมีให้มากแต่ก็ยังไม่คลอบคลุมทั้งหมด ยังมีหลงเหลือยู่บ้างที่ต้องอาศัย CODECS นอก สำหรับความสามารถของ CODECS ที่มีมาให้นั้นก็ถือว่าทำงานได้ดีพอสมควรเลยทีเดียวครับ สามารถเล่นไฟล์วิดีโอแบบ HD หรือความละเอียดสูง (1080p) ได้อย่างสบาย (อันนี้ขึ้นอยู่กับสเปคเครื่องด้วย)
06อีกหนึ่งความสามารถที่ถูกเพิ่มเข้ามาก็คือการสตรีมไฟล์วิดีโอซึ่งสามารถทำได้ผ่าน LAN ไปจนถึง Internet เลย โดยการสตรีมวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ใช้ต้องมี Windows Live ID สำหรับล็อกอินด้วยครับ
05
ซ้าย : เมนูตั้งค่า Stream ใน WMP12, หน้าตั้งค่า Stream ของ Windows7
Windows Media Center
อาจจะนับได้ว่าเป็นโปรแกรมที่มีหน้าตาสวยงามที่สุดใน Windows 7 ก็ว่าได้ ความสามารถของ Windows Media Center นั้นตรงกับชื่อเลยครับ คือ เป็นโปรแกรมรวมการจัดการไฟล์มีเดีย ซึ่งด้วยความสามารถนั้นไม่แตกต่างจาก Windows Media Player เลยครับ สิ่งที่แตกต่างกัน คือ จุดประสงค์ในการใช้งาน Windows Media Player นั้นออกแบบมาเพื่อเป็นโปรแกรมเล่นไฟล์มีเดียบน Windows แต่ Windows Media Center ออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องเล่นไฟล์มีเดีย สามารถทำงานได้ตั้งแต่เปิดเครื่อง จนถึงปิดเครื่องเลยทีเดียว และยังถูกออกแบบให้สามารถทำงานร่วมกับรีโมทคอนโทรลได้ดีอีกด้วย
Windows Media Center ใน Windows 7 ถูกพัฒนาต่อมาจาก Windows Vista และเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ เข้าไปอีกชุดใหญ่ สำหรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Windows Media Center ใน Windows 7 ก็มีดังนี้ครับ
07Turbo Scroll
เป็นลูกเล่นเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกเพิ่มเข้าไป สำหรับการค้นหาจากไฟล์จำนวนมาก การต้องมากดทีละครั้งเพื่อค้นหา บางครั้งอาจเสียเวลามาก ด้วยฟีเจอร์นี้ผู้ใช้สามารถ กดปุ่มลูกศร ซ้าย/ขวาที่คีย์บอร์ด โปรแกรมจะทำการค้นหาแบบเรียงลำดับตัวอักษรให้ครับ
Windows Media Center ขณะเรียกใช้งาน Turbo Scroll >>


The Fade
ในขณะที่กำลังเล่นไฟล์วิดีโอ อยุ่แล้วผู้ใช้ต้องการเปิดไปยังเมนูอื่น เช่น ค้นหาไฟล์ Windows Media Center จะยังไม่หยุดเล่นไฟล์เดิม แต่จะเล่นไฟล์นั้นเป็นแบ็คกราวน์อยู่ด้านหลัง (อธิบายอาจจะงงๆ ดูภาพประกอบอาจจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ)
08 Windows Media Center ขณะกำลังเล่นไฟล์วิดีโอ และกลับมาที่เมนูหลัก โดยวิดีโอยังคงเล่นต่อไป
การจัดการปกอัลบั้ม
5
ในกรณีที่ไฟล์ MP3 ไม่มีปกอัลบั้ม Windows Media Center จะสร้างให้โดยอัตโนมัติ
(ภาพจาก : http://www.digitaltrends.com)
ในขณะที่เล่น หรือเลือกไฟล์เพลง MP3 จะมีการแสดงปกอัลบั้มของเพลงนั้นๆ ด้วย โดยปกติไฟล์ภาพปกอัลบั้มจะมีการรวมเข้าไปในไฟล์ MP3 อยู่แล้ว แต่ในกรณีที่ไฟล์นั้น ไม่มีปกอัลบั้มอยู่ด้วย ตัวโปรแกรมจะทำการสร้างปกอัลบั้มให้แบบอัตโนมัต โดยจะมีพื้นหลังเป็นลายต่างๆ พร้อมกับชื่ออัลบั้มนั้นๆ ด้วย
7ภาพตัวอย่างการปรับแต่ง Windows Media Center ให้สามารถรับอีเมลล์ได้
(ภาพจาก : http://mintywhite.com)
สำหรับความสามารถของ Windows Media Center ยังไม่หมดเพียงแค่นี้แน่นอนครับ ยังมีอีกหลายๆ ความสามารถที่ซ่อนอยู่ เช่นการรับ-ส่งเมล์ผ่านตัวโปรแกรม หรือการปรับเปลี่ยนสกินเพื่อความสวยงามยิ่งขึ้น และอีกมากมายครับ เอาไว้โอกาสหน้าจะพูดถึงความสามารถของ Windows Media Center กันอีกที
สำหรับตอนหน้าตอนที่หก พลาดไม่ได้ครับ จะเป็นการทดสอบ Windows 7 เทียบกับ Windows ตัวอื่นๆ Windows 7 จะแรงกว่า Windows XP หรือไม่ มีคำตอบที่นี่แน่นอนครับ

control panel และอุปกรณ์

การจัดการเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์ถ่ายเอกสาร
ในขณะที่Windowsรุ่นก่อนๆได้มีการเสนอเกี่ยวกับฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการจัดการเครื่องพิมพ์ที่เสถียรพอสมควร แต่สำหรับWindows7 ได้มีการพัฒนาให้การมใช้งานฟังก์ชั่นดังกล่าวทำงานได้ง่ายขึ้นเพียงคุณคลิกขวาที่เครื่องพิมพ์คุณก็จะสามารถ
- ดูคิวพิมพ์
- ชุดเครื่องพิมพ์เป็นค่าเริ่มต้น
- เปลี่ยนการตั้งค่าการพิมพ์เช่นรูปแบบขนาดกระดาษคุณภาพการพิมพ์คำสั่งหน้าความละเอียดและอื่นๆ
- เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเครื่องพิมพ์ (แบ่งปันพอร์ตการตั้งค่าการจัดการสี, ความปลอดภัยเครื่อง)
- แก้ไขอุปกรณ์ต่างๆ


คลิกขวาที่อุปกรณ์มัลติฟังก์ชันซึ่งก็คือหน้ารวมของอุปกรณ์ต่อพ่วงด้านการพิมพ์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสแกน เครื่องพิมพ์ รวมไปถึงอุปกรณ์ Optical ด้วย เพื่อเปิดหรือจัดการกับอุปกรณเหล่านั้น


Device Stageซึ่งก็คือเทคโนโลยีใหม่ของ Windows 7  ที่ช่วยจัดการอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ อย่างเหนือชั้นไปสู่อีกระดับที่เหนือกว่า Device Stage ช่วยให้คุณสามารถโต้ตอบกับอุปกรณ์ใดๆ ที่เข้ากันได้ซึ่งเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของคุณ จาก Device Stage คุณจะสามารถเห็นสถานะของอุปกรณ์และเรียกใช้ได้จากหน้ าต่างเดียว นอกจากนี้ ยังมีรูปภาพของอุปกรณ์ปรากฏขึ้น ช่วยให้ง่ายแก่การมองเห็นว่ามีอุปกรณ์ใดบ้าง อีกทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์ยังสามารถกำหนด Device Stage เองได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ผลิตกล้องของคุณมี Device Stage แบบกำหนดเอง เมื่อคุณต่อสายกล้องของคุณเข้ากับพีซีคุณจะสามารถเห็ นสิ่งต่างๆ เช่น
- เชื่อมโยงไปยังสาธารณูปโภค
- ปรับปรุง Driver
- กระดาษและสื่อการสั่งซื้อ
- อุปกรณ์ซอฟต์แวร์
- เว็บไซต์ผู้ผลิต
ตัวอย่างนี้แสดงการโต้ตอบ ของ Device Stage ของ Epson Epson WorkForce 60 0 ซึ่งป็นเครื่องมัลติฟังก์ชันตัวใหม่ ไดรเวอร์นี้มีใน Windows 7 Beta แต่จะไม่มีใน Windows 7 RC รุ่นอัพเดทของไดรเวอร์นี้จะใช้ได้เมื่อ Windows 7 ไปอยู่ในเดือนตุลาคม


Device Stage ที่ใช้โปรแกรมควบคุมพิเศษการใช้เขียน XML metadata ไฟล์และภาพอุปกรณ์ file icon เพื่ออธิบายอุปกรณ์และให้เข้าถึงหน้าที่ หากคุณอยากรู้จริงๆเกี่ยวกับรายละเอียดทางเทคนิคให้ดู หน้า  Windows Device Experience   ที่ Microsoft.com
ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นหากอุปกรณ์ของคุณไม่ได้มี Device Stage ที่เปิดใช้งานโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์เช่นเดียวกับกรณีถ้าคุณใช้ Windows Vista driver ด้วย Windows 7 คุณจะต้องติดต่อผู้ผลิตไดรเวอร์ของคุณเพื่อดูเกี่ยวกับการปรับปรุง


คุณสมบัติอื่น ๆ ของอุปกรณ์และเครื่องพิมพ์คลิกตัวเลือกแก้ไขปัญหาจากเมนูคลิกขวาของอุปกรณ์หรือเครื่องพิมพ์และ Windows 7 จะตรวจสอบปัญหากับอุปกรณ์ติดตั้ง หากตรวจพบปัญหาก็เปิดแก้ไขปัญหาเฉพาะอุปกรณ์ หากไม่พบปัญหาก็มีตัวเลือกให้ลองทำตามขั้นตอนอื่นๆ หากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อไม่ปรากฏให้คลิกเพิ่มอุปกรณ์เพื่อตรวจหาและติดตั้งไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ การเพิ่มเครื่องพิมพ์ให้คลิกเพิ่มเครื่องพิมพ์
ข้อสรุป
อุปกรณ์และ Printers จะเปลี่ยนวิธีที่คุณจัดการอุปกรณ์และเครื่องพิมพ์ใน Windows 7 เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการกวาดสายตาไปทั่ว  Control Panel เพื่อหาแอพเพล็ตสิทธิ์ในการทำงาน แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการจัดการกับอุปกรณ์และเครื่องพิมพ์กับอุปกรณ์มัลติฟังก์ชั่น all - in - one เช่น หน่วยอุปกรณ์การถ่ายภาพ, มาร์ทโฟน Windows drivers 7 จะต้องติดตั้ง เฉพาะที่ Stage Device

.Windows Explorer ใน Windows 7

 การติดตั้ง Internet Explorer 9 Beta บน Windows 7

ผมได้มีโอกาสทดลองติดตั้งโปรแกรม Internet Explorer 9 Beta (ต่อไปขอเรียกว่า IE9 Beta เพื่อความกระชับ) ซึ่งไมโครซอฟท์เปิดให้ผู้สนใจดาวน์โหลดไปเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 53 ที่ผ่านมา โดย IE9 Beta มีเวอร์ชันสำหรับระบบปฏิบัติการเวอร์ชันสำหรับ Windows 7, Windows Vista และ Windows Server 2008, Windows Vista 64-bit และ Windows Server 2008 64-bit และ Windows 7 64-bit และ Windows Server 2008 R2 64-bit โดยที่ไม่มีเวอร์ชันสำหรับ Windows XP สามารถทำการดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Internet Explorer 9 Beta ทั้งนี้ (อ่านรายละเอียดได้ที่ Internet Explorer 9 Beta Now Available for Download)

ความต้องการระบบของ Internet Explorer 9 Beta
Internet Explorer 9 Beta นั้น มีความต้องการระบบในด้านต่างๆ ดังนี้
• รองรับระบบปฏิบัติการ (*ขึ้นอยู่กับเวอร์ชันที่ดาวน์โหลด)
- Windows Vista Service Pack 2
- Windows Vista 64-bit edition with Service Pack 2
- Windows Server 2008 Service Pack 2
- Windows Server 2008 64-bit edition with Service Pack 2
- Windows Server 2008 R2 64-bit edition
- Windows Server 2008 R2 64-bit edition with Service Pack 1 Beta
- Windows 7
- Windows 7 with Service Pack 1 Beta
- Windows 7 64-bit edition
- Windows 7 64-bit edition with Service Pack 1 Beta

• โปรเซสเซอร์: คอมพิวเตอร์ที่มีโปรเซสเซอร์ความเร็ว 233MHz หรือสูงกว่า (แนะนำให้ใช้โปรเซสเซอร์ Pentium)
• หน่วยความจำ: หน่วยความจำขั้นต่ำ: 512MB
• พื้นที่ฮาร์ดดิสก์: พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ขั้นต่ำ:70MB
• ดิสเพลย์: มอนิเตอร์ที่สามารถแสดงความละเอียดระดับ Super VGA (800 x 600) หรือสูงกว่าที่ระดับ 256 สี
• อุปกรณ์ประกอบ: โมเด็ม (Modem) หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรูปแบบอื่นๆ เม้าส์หรืออุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ

เริ่มติดตั้ง Internet Explorer 9 Beta บน Windows 7
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำการติดตั้งในครั้งนี้เป็นเครื่อง HP Dx5570 ใช้ซีพียู AMD Athlon 64 X2 Dual Core 5200+ 2.6 GHz หน่วยความจำ 2 GB ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 Enterprise Edition Service Pack 1 Beta

โดยการติดตั้ง Internet Explorer 9 Beta ตามขั้นตอนดังนี้

1. ในโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ดาวน์โหลด ให้ดับเบิลคลิกไฟล์ชื่อ IE9-Windows7-x86-enu.exe จากนั้นในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ User Account Control ให้คลิก Yes
2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Install Internet Explorer 9 ให้คลิก Install แล้วรอจนการติดตั้งแล้วเสร็จ

 รูปที่ 1 Windows Internet Explorer 9

3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Explorer 9 is now installed ให้คลิก Restart Now จากนั้นรอจนระบบทำการอัปเดทแล้วเสร็จซึ่งจะใช้เวลานานหลายนาที

รูปที่ 2 Internet Explorer 9 is now installed

หลังจากระบบพร้อมใช้งานจะได้ไอคอนของ IE9 ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 Internet Explorer 9's icon

เมื่อทำการเปิดใช้งานโปรแกรมครั้งแรก IE9 จะแสดงป็อปอัปให้ดิสเอเบิลแอดออนต่างๆ ดังรูปที่ 4 ซึ่งเราสามารถเลือก Ask me later เพื่อทำการคอนฟิกในภายหลังได้

รูปที่ 4 Disable add-ons

หลังจากนั้น IE9 จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Set up Internet Explorer 9 ให้ตั้งค่า SmartScreen ดังรูปที่ 5 ให้คลิก OK ในกรณีต้องการใช้ค่าที่กำหนดให้ คือ Use reccommented security and compatibility settings หรือเลือก Don't use reccommented settings แล้วคลิก OK หรือเลือก Ask me later เพื่อทำการคอนฟิกในภายหลังได้เช่นเดียวกัน

รูปที่ 5 Set up Internet Explorer 9

สำหรับหน้าตาของโปรแกรม IE9 Beta มีลักษณะดังภาพที่ 6

รูปที่ 6 Internet Explorer 9 Beta

หมายเลขเวอร์ชันของ Internet Explorer 9 Beta
Internet Explorer 9 Beta นั้นมีหมายเลขเวอร์ชันเป็น 9.0.7930.16406